วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปลอดภัยไหม? กับการกินผักโดยการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์

   วันนี้ไปเดินเที่ยวห้างกับคุณแม่ เลยมีโอกาสได้ฟังคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์และอดไม่ได้ที่จะนำมาเขียนให้เพื่อนๆอ่านในวันนี้


      พี่สาวคนสวยถามว่า “ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ใช้สารเคมีไม่ใช่เหรอคะ แล้วไม่มีผลต่อร่างกายหรือ?”

       คำตอบข้อแรก ค่ะ ปุ๋ยที่เราใส่เข้าไปนั้นเป็นสารเคมี และสารเคมีต่างๆเหล่านี้ก็คือแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับพืช เหมือนกับปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมักหรือ เรียกสั้นๆว่าปุ๋ยอินทรีย์ เพราะในความจริงแล้วไม่ว่าเราจะปลูกพืชในดินหรือในสารเคมี พืชก็จะดูดอาหารในรูปของประจุของธาตุ(ซึ่งบางคนก็เรียกว่าสารเคมี) เหมือนกันและทำการสังเคราะห์ เป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามินต่างๆ ให้คนเรานำมากินเพื่อเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย 
       คำตอบที่สอง คือ หากเรายังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรับประทานผักที่ปลูกในดินโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เราก็ไม่ควรกังวลกับการกินผักแบบไฮโดรโปนิกส์เพราะรูปแบบการสังเคราะห์อาหารเหมือนกันค่ะ ดังนั้นเมื่อเราคิดว่าการรับประทานผักแบบปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปลอดภัยการรับประทานผักแบบไฮโดรโปนิกส์ก็ไม่ต่างกันค่ะ 
สรุปจากบทความของอาจารย์ ผศ.ดร. ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ

ตัดมาจากส่วนหนึ่งของบทความ การปลูกพืชไม่ใช้ดิน หน้าสุดท้ายค่ะ

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสง
       
ทดลองปลูกเรสโอ้ค หน้าฝนไม่ใหญ่มาแต่งก็สวยดีคะ

แล้วอะไรที่เป็นอันตรายของผักต่อคนกินล่ะ ?
ยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมประเภทจับใบ ที่ยังคงตกค้างอยู่ในผัก เนื่องจากเก็บผักเร็วกว่าที่กำหนดทำให้ยาฆ่าแมลงยังคงตกค้าง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ทั้งการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์และผักที่ปลูกบนดิน ดังนั้นหากเราฟังข่าวว่ามีการตรวจสอบผักในห้างสรรพสินค้า แล้วพบสารตกค้างในผัก นั้นก็คือยาฆ่าแมลงที่ยังตกค้างอยู่ที่ผักค่ะ ไม่ใช่สารเคมีจากปุ๋ยแต่ประการใด ขอให้เพื่อนๆพี่ๆ ทุกคนเข้าใจนะคะ
กระเช้าผักสวยๆ ฝากแม่สามีคะ
ขอให้เพื่อนๆมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกคนนะคะ

จัดทำโดย


วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทำความรู้จักกับปุ๋ยน้ำผักไฮโดรโปนิกส์กันนะ


เพื่อนๆ  ค่ะ บทความนี้เป็นวิชาการซะหน่อย เพราะฉะนั้นเราจะพยายามเขียนให้น่าเบื่อน้อยที่สุดนะคะ

ปุ๋ยคืออะไร?

    ปุ๋ยคือสารอาหารที่เพิ่มให้กับดิน เพื่อให้ดินเหมาะสมกับต้นไม้ที่เราต้องการปลูก อย่างเช่นถ้าเราต้องการปลูกผัก สารอาหารที่มีความสำคัญในการทำให้ใบมันสวยสมบูรณ์ ธาตุอาหารหลักคือไนโตรเจน (N) แต่เราใส่ไนโตรเจนอย่างเดียวมันพอหรือไม่? คำตอบคือไม่พอค่ะ
    พืชนั้นมีความต้องการธาตุอาหารหลักๆ อยู่ด้วยกัน 17 ธาตุ ดังนั้นถ้าเราปลูกผักไร้ดิน เราจำเป็นที่ต้องอาศัยธาตุเหล่านี้ เพื่อทำให้ผักเราโต เพราะในน้ำไม่ได้มีปริมาณธาตุที่พืชต้องการมากนัก แต่ถ้าเราปลูกผักในดินและต้องการทำให้ผักงาม ต้นทุนต่ำ เกษตรกรมักก็จะใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว(ประหยัดงบ) ซึ่งก็จะทำให้ผักใบงาม ใหญ่ เหตุที่เราใส่ไนโตรเจนในดินเพียงอย่างเดียวได้เพราะในดินประกอบด้วยธาตุอาหารหลักๆเกือบทั้งหมด แต่เมื่อใช้ก็มีหมด ดังนั้นเมื่อผักนำธาตุอาหารบางส่วนในดินไปใช้แล้ว การปลูกครั้งต่อไปกับต้นไม้หรือผักตระกูลเดียวกันอาจจะไม่งามเหมือนครั้งแรก เพราะแร่ธาตุได้สูญเสียไปแล้วในครั้งแรก ทำให้เกษตรกรส่วนหนึ่งยอมจ่ายเงินซื้อปุ๋ยให้มากขึ้นเพื่อจะได้ใช้พื้นที่เดิมในการปลูกผักตระกูลเดิม และนี้คือต้นทุนที่สูงขึ้นคะ
    17 ธาตุนี้ประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน แคลเซียม เหล็ก แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีนและนิกเกิล
     โดย 3 ธาตุ คือคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน พืชได้รับจากน้ำและอากาศ 
          6 ธาตุ เป็นธาตุอาหารหลัก มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชและพืชต้องการปริมาณมากและสามารถหาได้ง่ายจากดินคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กำมะถันและแคลเซียม
          8 ธาตุ เป็นธาตุอาหารเสริม พืชใช้น้อยแต่ถ้าไม่มีไม่ได้ ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และนิกเกิล
เรามาดูส่วนผสมของปุ๋ยของพืชที่ใช้กับผักไฮโดรโปนิกส์กันนะคะ




จะเห็นว่ามีส่วนผสมของธาตุทั้งหมดอยู่ ขอบคุณข้อมูลจากเกษตรบางไทรค่ะ

วิธีการเก็บรักษาปุ๋ย 


เนื่องจากสารประกอบบางส่วนของปุ๋ยมีผลต่อแสงและความร้อน ดังนั้นควรเก็บปุ๋ยไว้ในที่ร่มและไม่ร้อนค่ะ



ขอให้เพื่อนๆมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกคนนะคะ

จัดทำโดย


วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทำไมผักของเราเพาะไม่ขึ้นนะ

สาเหตุหลักๆ คือการเก็บเมล็ดพันธุ์ยาวนานเกินไปหรือไม่เหมาะสม

    หลายๆคน ได้ทำการซื้อชุดปลูกผักมาด้วยความต้องการที่หลากหลาย บางคนอยากปลูกเพื่อต้องการกินผัก หรืออยากรู้ว่าวิธีนี้ปลูกผักได้จริงหรือเปล่า แต่เมื่อซื้อไปแล้วกลับไม่มีเวลาอย่างที่คิด ทำให้ต้องเลื่อนเวลาออกไป
    หากเก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ชุดปลูกนี้ก็จะเก็บไว้ได้นานกว่า 6 เดือนกว่าเมล็ดพันธุ์จะเสื่อมคุณภาพทำให้อัตราการงอกลดลง แต่ถ้าลืมและเก็บไว้ในท้ายรถหละ ผลเสียจะเกิดขึ้นมากเพราะความร้อนจากอากาศที่ถ่ายเทไม่สะดวก และแสงแดดที่มากระทบจะส่งผลให้เมล็ดผักเสื่อมคุณภาพได้อย่างรวดเร็วจนทำให้เพาะไม่ขึ้น และความเข้มข้นของปุ๋ยจะลดลง (จะพูดถึงในเรื่องต่อไปนะค่ะ) 


    ดังนั้นหากเพื่อนๆ ซื้อไปแล้วแต่ยังไม่อยากปลูกแนะนำให้นำชุดปลูกเก็บไว้ในที่ร่ม และนำเมล็ดผักไปแช่ตู้เย็นจะทำให้ยืดเวลาการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดผัก เมล็ดผักจะงอกได้ง่าย ประมาณ 1-2  วันเมล็ดผักจะเริ่มงอกแล้วค่ะ 
   สำหรับเพื่อนที่ซื้อเมล็ดผักเอง สิ่งที่ควรสังเกตเวลาซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก คือวันหมดอายุและเปอร์เซ็นต์การงอกค่ะ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เราตัดสินใจซื้อเมล็ดผักนั้นได้ง่ายขึ้น หวังว่าข้อมูลนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อยนะค่ะ




ขอให้เพื่อนๆมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกคนนะค่ะ

จัดทำโดย