วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คิดจะปลูกผักทานเองทุกวันง่ายจริงๆนะ

   วันนี้ เป็น Blog สำหรับคำถามของคุณลูกค้า ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย เลยอยากตอบแบบเผยแพร่ค่ะ
  
    คำถามที่น่าสนใจข้อแรกคือ
   ควรใช้กระถางกี่ชุดดี เมล็ดพันธุ์อะไรดีครับ ทำผักสลัด/ผักผัดกับน้ำมันมะกอก รัประทาน 2 ท่านวันละ 1 มื้อทุกวัน เป็นอย่างน้อย

    - ถ้าต้องการทานผักให้ได้ตลอดทุกวัน ต้องมีกระถางอย่างน้อย 20 กระถาง ดูแล้วเหมือนเยอะมากๆ เลยใช่ไหมหละคะ แต่พอเรามาแบ่งปลูกแต่ละสัปดาห์เราก็จะปลูกเพียง 4 กระถาง โดยเราทำการปลูกผักสลัด 1 กระถาง ผักไทย (กวางตุ้ง ผักกาดขาวไดโตเกียว คะน้า) 3 กระถาง เราจะมีผักทานทุกๆวันค่ะ



      
       วิธีการคำนวณของเรานะคะ

       อันดับแรกตีโจทย์ก่อน  ปลูกกี่กระถางถึงจะมีผักกินตลอดทุกวันและผักอะไรบ้าง

      หาความสัมพันธุ์ของตัวแปรก่อนค่ะ โดยเงือนไขการปลูกมีอยู่ว่า
      1 รอบการปลูกผัก = 35 วัน (เวลาโดยทั่วไป) 
       ดังนั้นถ้าคิดการปลูกเป็นสัปดาห์  = 35/7 =  5 สัปดาห์ จะเก็บผักได้ 

      ถ้าต้องการปลูกผักทานทุกวันใน 1 สัปดาห์ 
กำหนดให้ ผักสลัด 2 ต้น /  1 มื้อ  = 14 ต้น/ 1 สัปดาห์  =  1 กระถางพอเพียงอย่างน้อย ( 1 กระถางพอเพียง = 12 ต้น)
กำหนดให้ ผักกาดขาว 6 ต้น / 1 มื้อ  = 42 ต้น / 1 สัปดาห์   = 42/12 = 3 กระถางพอเพียงอย่างน้อย
รวมทั้งหมด 4 กระถาง/สัปดาห์  
     ดังนั้นถ้าต้องการทานผักทุกสัปดาห์จะใช้กระถางทั้งหมด    5 x 4 = 20  กระถางพอเพียงค่ะ


6 กระถาง ได้ผัก 1 กระเช้าและผักอีกสามตระกร้าใหญ่สำหรับ  1 สัปดาห์

 - เมล็ดผักที่ใช้ ควรปลูกผักตามฤดูกาลดูในบทความนี้ค่ะ http://pukbaanbaan.blogspot.com/2014/07/blog-post.html และ http://pukbaanbaan.blogspot.com/2014/09/2.html


ก่อนกินให้แช่น้ำทิ้งไว้ผักก็จะกลับมาสดเหมือนเดิมค่ะ

         แต่สำหรับลูกค้าที่ซื้อชุดปลูกผัก เรามีเมล็ดผักกาดขาวไดโตเกียวกับกรีนโอ้คจัดไว้ให้แล้วค่ะ

  2. เมื่อเก็บทานหมดแล้วในกระถางแต่ละชุดนำมาปลูกใหม่ได้ไหมโดยใช้วัสดุเดิมทั้งหมดเพื่อประหยัดการซื้อใหม่

 - กระถางและโฟมสามารถนำกลับมาใช้ทั้งหมดค่ะ สิ่งที่เป็นวัสดุสิ้นเปลืองคือ ฟองน้ำ เพียงอย่างเดียวค่ะ


ฟองน้ำจะเสียรูปหลังจากที่ผักโตทำให้นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้


3. คุณค่าทางโภชนาการต่างจากผักปลูกบนดินอย่างไรบ้าง /ความอร่อย /สด/ไม่มีอันตรายจากปุ๋ยที่เติมใช่หรือไม่


กวางตุ้งฮองเต้กับรากสวยๆ


  - คุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างจากผักที่ปลูกบนดินค่ะ เพราะเมล็ดผักก็เป็นเมล็ดชนิดเดียวกับที่ปลูกนนดิน ส่วนความอร่อยและสดก็ไม่ต่างกัน  
ส่วนอันตรายจากปุ๋ยเข้าไปอ่านในบทความนี้เลยนะค่ะ http://pukbaanbaan.blogspot.com/2014/08/blog-post_20.html


รอยยิ้มของแม่

ของแถมค่ะ จากที่เพื่อนๆ อ่าน อาจจะรู้สึกว่ามันคงต้องใช้เวลามาก แต่จริงๆ แล้วเราใช้เวลาต่อสัปดาห์ไม่เกิน 15 นาทีเอง สำหรับ 15 นาทีต่อสัปดาห์กับการได้กินผักตลอดทั้งปี เพื่อสุขภาพของเราและครอบครัวที่เรารัก  แถมยังประหยัดกว่าการซื้ออผักทาน (ต้นทุนผักสลัด/ต้น = 4 บาท และผักไทย/ต้น = 2 บาท) ใน supermarket หนทานนี้เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เพื่อนๆ ได้พบกับความสุข สุขภาพแข็งแรง และได้รับรอยยิ้มจากคนที่เรารักได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ลงมือทำเท่านั้นเอง
จัดทำโดย



                                              

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เด็กกับการปลูกผักไร้ดิน


    เขียนบทความนี้ไกลตัวเหมือนกันนะคะ เพราะยังไม่มีลูก ยังดีที่มีหลานๆ เลยแอบเอาไปให้หลานๆ (ลูกเพื่อนได้ทดลองปลูกกัน)




      เพื่อนเล่าให้ฟังว่าเมื่อลูกได้รับชุดปลูกในครั้งแรก เขาคิดว่ากระถางคือเรือ แล้วนั่งทับทำเหมือนขี่เรือจริงๆ (ดีใจที่กระถางแข็งแรงพอสำหรับน้ำหนักเด็ก 3 ขวบ) และเด็กน้อยอีกคนนำชุดกระถางขึ้นห้องนอน เอาไปนอนด้วย ( เราเลยต้องบอกเพื่อนว่าเอาปุ๋ยแยกออกมาต่างหากนะ มันอันตรายกลัวหลานเปิดเอามาทาน)
เรือของเด็ก


 สมาชิกใหม่ของผักบ้าน...บ้านค่า


     วันที่เริ่มเพาะ เพื่อนเปิด Clip ใน You-Tube ที่เราทำมาให้เด็กน้อยดู ปรากฏว่าหลานทำเองได้โดยไม่ต้องช่วย วิธีนี้เป็นการฝึกการเรียนรู้และสร้างสมาธิของเด็กได้ดีเลยทีเดียว
สำหรับการปลูกครั้งแรก แนะนำให้ปลูกผักกาดขาวไดโตเกียว เพราะปลูกง่ายและโตเร็วค่ะ


วันแรกกับการเพาะผักไร้ดิน


วันแรกกับการเพาะผักไร้ดิน
เตรียมอุปกรณ์เพาะต้นกล้า

พื่อนเล่าให้ฟัง ทุกวันหลังจากเพาะแล้วเด็กๆ จะมาเฝ้ามองและเปิดกล่องเพาะดูทุกวัน วันละหลายครั้ง เ ในแต่ละวัน เด็กๆ ตื่นตาตื่นใจกับการเปลี่ยนแปลงจากเมล็กเล็กๆ ที่ค่อยๆ กลายเป็นต้นกล้าต้นน้อยๆ คำถามจะตามมาทุกวันว่าเมื่อไหร่มันจะโต? แล้วมันจะเป็นอย่างไร? 
"ด้วยคำถามนี้เองทำให้เราลงมือทำสมุดบันทึกผักสำหรับเด็กน้อยขึ้นมา เพื่อเด็กๆจะได้สนุกกับการปลูกผักและสอดแทรกความรู้สำหรับเขาและหลักธรรม ในช่วงเวลาที่เขาสนุกกับกิจกรรมนี้"






      "ปล. การเฝ้าดูการงอกของต้นกล้า โดยการเปิดดูส่งผลต่อการงอกไม่มากนัก ข้อควรระวังเพียงอย่างเดียวคือ อย่าให้กระดาษทิชชู่แห้งเท่านั้น"

คลิปการะเพาะต้นกล้าใน You-tube ค่ะ










่ลงมือทำแล้วครับ


เสร็จแล้วครับ ภูมิใจสุดๆ ดูจากภาพเลยค่ะ

       


แหม! พอเพื่อนเล่าเรื่องนี้ขึ้นมา ก็อยากเห็นความตื่นเต้นของหลานด้วยตาเสียจริงๆ และคิดว่า ถ้ามีลูกก็อยากสอนเขาอย่างนี้เหมือนกัน อยากให้เขาสัมผัสกับการเกิดของต้นกล้าต้นน้อยอย่างใกล้ชิด จะได้อธิบายให้เขาเห็นความพยายามของต้นกล้ากว่าจะเป็นผักให้เรากิน มันต้องผ่านอะไรมาบ้าง เวลากินผักเขาจะได้กินหมด ไม่เหลือทิ้งเหมือนเราตอนเด็กๆ ( เพราะเราไม่ชอบกินผักเอามากๆเลย)

       เมื่อผักพร้อมที่จะลงกระถาง เด็กบางคนอาจพบกับความผิดหวัง เพราะพบว่าผักงอกไม่ได้ทั้งหมด หรือช่วงที่เขานำต้นกล้าลงกระถาง ต้นอาจหักจากการที่ต้นไปโดนโฟมในช่องที่ใส่ 

กล่อนนี้อาจช่วยให้คุณแม่ใช้ในการปลอบลูกได้นะค่ะ (นำมาจากสมุดบันทึกการปลูกผักของเด็กน้อย)

     ถึงช่วงนี้แล้วคุณแม่ต้องหาคำตอบดีๆ ให้ลูกนะคะ หรือถ้าไม่อยากให้เขาผิดหวังมากก็เป็นคนจัดวางต้นกล้าลงกระถางจะดีที่สุดและเพาะต้นกล้าให้มากกว่าหลุมที่มีอยู่ก็จะลดความเสี่ยงที่มีหลุมเหลือ




เสร็จแล้วฝีมือคู่แม่ลูกช่วยกับปลูกค่ะ

ดูวิธีการนำต้นกล้าลงกระถางได้ในนี้นะค่ะ




ข้อควรระวัง การใส่ปุ๋ยเราขอแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่เป็นคนใส่เองนะคะ เพราะปุ๋ยมีความเป็นกรดแบบอ่อนๆ อยู่อาจจะระคายเคืองกับผิวเด็กได้ แต่ผู้ใหญ่อย่างเราไม่มีผลค่ะ




ภาพจากหลานสาวตัวน้อยค่ะ 

สนุกอย่างที่เห็น (ผักอายุได้ 7 วันหลังจากลงกระถางคะ)


ชาวนาตัวน้อย ( ผักอายุได้ 14 วันหลังจากลงกระถาง)



ขอทานก่อนนะค่ะ

 ปิดเทอมนี้ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ กับลูกๆ มีกิจกรรมปลูกผักทานในบ้านอย่างง่ายๆ ได้ที่นี่นะค่ะ เข้ามาชมแล้วเพื่อนๆ จะติดใจค่ะ





วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ทำไมการปลูกแบบผักบ้าน..บ้าน ถึงไม่ใช้ถ้วยปลูกและปั๊ม

หลายๆ คน อาจแปลกใจว่าทำไมชุดปลูกผักของร้านเราถึงไม่ใช้ถ้วยปลูกและปั๊มเหมือนการปลูกแบบอื่นๆ

 ด้วยนิสัยเด็กวิศวะอิเล็ก ที่ถูกฝึกมาให้ตั้งคำถามและหาคำตอบในช่วงที่เรียน ดังนั้นเมื่อเราจะลงมือทำอะไรสักอย่าง มักตั้งคำถามว่าทำไมต้องใช้อันนี้? ทำไมไม่ใช้อันนั้น? และมีอย่างอื่นไหมที่สามารถทดแทนได้ เราจะใช้เวลาก่อนลงมือทำ ค่อยๆหาคำตอบ เท่าที่จะสามารถหาได้


   ช่วงที่คิดจะเริ่มปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เราตัดสินใจปลูกแบบน้ำนิ่งเพราะเป็นการปลูกที่ต้นทุนถูกที่สุดแล้ว แต่บทความหลายบทความบอกว่าต้องใช้ปั๊มเพื่อให้ออกซิเจน แต่เราก็ไม่ชอบเรื่องการเดินระบบไฟฟ้าไว้นอกบ้าน เพราะไฟฟ้ากับความชื้นและน้ำฝนตอนฝนตก ทำให้เรารู้สึกไม่ปลอดภัย  
   ส่วนถ้วยปลูก เราก็คิดจะใช้เพราะเห็นใครๆ เขาใช้กัน แต่เราคิดว่าถ้าไม่ใช้หละจะเป็นอย่างไร และนี่แหละคือเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน
                                   
เริ่มต้นดังนั้นเราจึงหาความสำคัญของถ้วยปลูกก่อน (เพราะคิดว่าง่ายกว่าเรื่องปั๊ม)
   
  
ถ้วยปลูก
  ถ้วยปลูกทำหน้าที่ในการพยุงต้นกล้าไม่ให้ล้มและช่วยควบคุมต้นกล้าให้อยู่ในระดับน้ำที่เหมาะสม ส่งผลให้ปริมาณปุ๋ยที่ใช้น้อยลง นั่นคือประโยชน์ของถ้วยปลูก(ตามที่เราหาข้อมูลได้นะคะ)
  แต่เมื่อสังเกตุผักที่อยู่บนดิน เจ้าผักก็ไม่ใช้ถ้วยปลูก ยังสามารถพยูงตัวและตั้งเองได้ ดังนั้น “ถ้าไม่มีถ้วยปลูกเจ้าผักสามารถตั้งเองได้ไหมโดยการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์แบบกระถางราง” และนี่เองคือสมมุติฐานแรกของเรา จากการทดลองในหลายๆครั้ง

ผักกาดขาวไดโตเกียวอายุ 30 วัน


     สรุปได้ว่าผักสามารถปรับตัวได้ในกรณีที่ไม่ต้องใช้ถ้วยปลูก แม้จะปลูกกับผักที่มีขนาดกอใหญ่ก็ตาม ดังภาพ (แอบทึ่งกับการปรับตัวของเจ้าผักเหมือนกัน)
ผักกาดขาวใหญ่
     แน่นอนเมื่อไม่มีถ้วยปลูก เราก็ได้พื้นที่มากขึ้น ทำให้ปริมาณหลุมปลูกในกระถางมากขึ้นเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว นี่คือของแถมที่น่าสนใจ แต่วิธีนี้ก็ทำให้ระดับรากผักอยู่สูงจากพื้นดินมากกว่าการปลูกโดยใช้ถ้วยปลูกจึงต้องใช้น้ำมากขึ้น เพื่อให้ระดับน้ำสูงพอที่จะคลุมรากได้ ส่งผลให้ใช้ปุ๋ยมากกว่าเดิมเพื่อให้ได้ความเข้มข้นของปุ๋ยเท่าเดิมในปริมาณน้ำที่มากขึ้น และนี่คือต้นทุนเดียวที่แพงจากการปลูกผักแบบนี้ แต่ถ้าเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ ก็ยังเป็นต้นทุนที่ถูกอยู่ สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการปลูกเพื่อทานภายใน ครอบครัว เพราะต่อชุดราคาไม่เกิน 500 บาทก็ปลูกได้แล้ว


ชุดพอเพียง ( 12 หลุม)

     แล้วปั๊มหละ ทำหน้าที่อะไร?
     ปั๊มทำหน้าที่ในการให้ออกซิเจนกับน้ำ เพ่ือผักเติบโตได้ แม้รากผักจะจุ่มอยู่ในน้ำเกือบทั้งหมด ดังนั้นรากไม่ได้เพียงทำหน้าที่ในการดูดซึมอาหาร แต่ยังทำหน้าที่ในการรับออกซิเจนด้วย เพื่อทำให้ผักมีชีวิตและเติบโต
     จากงานวิจัยและการปลูกอย่างแพร่หลายในระบบน้ำนิ่ง ทำให้เรารู้ว่าการใช้ปั๊ม ไม่ใช่วิธีเดียวที่ทำให้ผักได้รับออกซิเจน แต่การเว้นช่องว่างระหว่างรากผักกับระดับน้ำอย่างเหมาะสมก็เป็นวิธีที่ทำให้ผักมีชีวิตและโตได้ด้วย ดังนั้นเราเลยหาข้อมูลและทดลองว่าระดับน้ำเท่าไรจึงเหมาะสมกับการปลูกผักระบบน้ำนิ่ง ในกระถางราง จึงได้ข้อสรุปดังนี้ 
    จากอากาศที่ร้อนและร้อนมากๆของบ้านเรา ธรรมชาติเป็นตัวช่วยที่ดีในการปรับระดับน้ำได้ตลอดทั้งปี (โชคดีเพราะประเทศเราร้อนใช่ไหมเนี่ย) 
   ผลการทดลองปลูกมาประมาณสองปี สรุปผลได้ว่า
  - ในช่วง 1- 15 วันแรก(นับจากนำต้นกล้าลงกระถาง) การระเหยของน้ำจะสัมพันธ์กับระดับน้ำในกระถางรางอย่างไม่น่าเชื่อ คือระดับน้ำลดลงเพียงพอสำหรับออกซิเจนที่ผักต้องใช้ในการเติบโต (ชุดพอเพียงเป็นชุดที่ปริมาณน้ำเหมาะสมที่สุดในทุกๆ ฤดูกาล) ทำให้ไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำในการให้ออกซิเจนเหมือนวิธีอื่น 
   หมายเหตุ สำหรับชุดเด็กน้อยควรเอาน้ำออกให้น้ำสูงประมาณ 3/4 ของรากในช่วง
สัปดาห์ที่ 2 หลังจากปลูก เพราะปริมาณน้ำในกระถางมีมากกว่าชุดพอเพียงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดพอเพียงในปริมาณจำนวนต้นที่เท่ากัน
ชุดเด็กน้อย ( 7 หลุม)

  - ในช่วงประมาณ 15-30 วัน ผักจะใช้น้ำมาก เพราะอยู่ในช่วงกำลังโต เราอาจต้องเติมน้ำแทนน้ำที่สุญเสียไปแต่ไม่ควรมากกว่าครึ่งหนึ่งของกระถาง ดูในบทความนี้นะคะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ผู้ปลูกจะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนในระหว่างใส่ปุ๋ย (สำหรับปุ๋ยที่ซื้อจากร้านผักบ้าน...บ้าน) 
น้ำลดมากช่วงใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 

   สรุปแล้ววิธีนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มเพื่อให้ออกซิเจน ส่งผลให้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า เราเลยสามารถวางกระถางได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องเดินสายไฟเพิ่ม และตัดความกังวลเวลาที่ไฟดับหรือต้องเสียบปลั๊กทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่บ้านค่ะ
    เพื่อนๆ คงเข้าใจแล้วนะคะ ว่าชุดพอเพียง และชุดเด็กน้อย เกิดขึ้นมาได้ยังไงนะค่ะ หวังว่าเพื่อนๆ จะลองประดิษฐ์หรือทดลองปลูกบ้างนะคะ อยากบอกว่าสนุกมากๆ



   ขอบคุณอาจารย์ ที่คอยสอนให้หนูได้เป็นนักตั้งปัญหา และรู้จักแก้ไขปัญหา ขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้หนูได้มีวันนี้ วันที่ได้สานฝันคนอยากปลูกผักให้เป็นจริง 
ขอให้เพื่อนๆมีความสุขสุขภาพแข็งแรงทุกคนนะคะ
จากเรา
หรือพูดคุยและกด like กับเราได้ที่




วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

การเก็บผักและวิธีการจัดกระเช้าผักให้สวยงามแบบง่ายๆ ด้วยผักไฮโดรโปนิกส์

การเก็บผักและวิธีการจัดกระเช้าผักให้สวยงามแบบง่ายๆ ด้วยผักไฮโดรโปนิกส์


   อันดับแรกคือ ทำการเทน้ำที่มีปุ๋ยทิ้ง ใส่น้ำใหม่ครึ่งกระถางหรือปริมาณน้ำท่วมรากประมาณ 1 ใน 3  แช่ไว้ 1 วัน  1 คืน เพื่อให้ผักดูดน้ำและละลายปุ๋ยในตัวผักไปในตัว ทั่งยังช่วยให้คราบในกระถางละลายออกมาได้บางส่วน และค่อยนำมาทาน ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ๋ยได้ในนี้นะคะดูหน้าสุดท้ายจากบทความของอาจารย์ ผศ.ดร. ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสง


ผักที่เตรียมนำมาจัดในวันพร่งนี้ค่ะ

ใส่นำ้ครึ่งหนึ่งของกระถาง

  หลังจากแช่ผักไว้ตามที่กำหนดแล้ว ให้นำกระเช้าสวยๆ ที่ต้องการนำมาจัด และนำผักที่ต้องการมาเตรียมไว้ ผักที่นำมาจัด ไม่ควรทำการตัดรากหลังนำออกจากกระถางปลูก เพราะจะทำให้ผักเหี่ยวอย่างรวดเร็ว 




รากยังเปียกอยู่ทำให้ใบผักไม่เหี่ยวเมื่อเดินทาง (กรีนโอ้ค พันธุ์ Royal) 

  ทำการจัดผักโดยวางผักจากขอบนอกของกระเช้าเข้าด้านใน ควรเป็นผักที่มีใบแข็ง เมื่อวางแล้วไม่เคลื่อนย้ายผักมากเพราะจะทำให้ผักช้ำ 


ผักที่ใช้คือกรีนโอ้คพันธุ์ Royal


แซมผักที่มีสีใบหรือลักษณะใบที่แตกต่างกันแซมเข้าไปกับผักชนิดแรกที่จัดก่อนหน้านี้ เพื่อทำให้เกิดมิติและสีสันสวยงามขึ้น
แชมด้วยเรสคอส

  พรมน้ำให้ทั่ว หากกระเช้าผักต้องเดินทางไกล ควรมีผ้าชุบน้ำคลุมผักให้ทั่ว เพื่อทำให้ผักสดลดการเหียวก่อนถึงมือผู้รับค่ะ
  เคล็ดลับในการเก็บผักให้สดและกินได้นานคือ เมื่อนำออกจากตระกร้าแล้วควรแช่รากใว้ในน้ำดังภาพค่ะ จะทานเมื่อไหร่ค่อยเอาออกมา แค่นี้เราก็จะมีผักสดกินได้ตลอดแล้วค่ะ


ผักที่เหลือจากการทานนำรากมาแช่น้ำเพื่อให้ผักยังคงความสดอยู่


สามกระถางที่เห็นสามารถนำมาจัดกระเช้าได้ 1 กระเช้าและเก็บไว้กินเองได้อีก 2 ตะกร้า การปลูกผักง่ายเพียงแค่ลงมือทำอย่าเพียงแค่คิด แต่ควรลงมือทำ ถ้ามีโอกาสค่ะ


ตัวอย่างการจัดผักชนิดต่างๆ (เรสคอสกับผักกาดขาวใหญ่)

กระเช้าประกอบด้วย ผักกาดขาวไดโตเกียว เรสคอส กรีนโอ้คและ กวางตุ้งฮองเต้
ขอให้เพื่อนๆมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกคนนะคะ

และถ้าเพื่อนๆมีความสุขกับบทความนี้รบกวนมากด like ที่
http://facebook.com/pukbaan  เพื่อเราจะได้มาเจอกันนะค่ะ





ประยุกต์กระถางรางมาใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (ปลูกผักไร้ดิน)แบบน้ำนิ่ง

  สำหรับเพื่อนๆ ที่ใช้กระถางรางยาว 70 ซม. เป็นรางในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำนิ่ง 

ผักที่ปลูกโดยใช้กระถางรางขนาด 70 ซม.

กระถางพลาสติกแบบนี้ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ปลูกผักลักษณะนี้ ทำให้กระถางเสียรูปเมื่อเติมน้ำเต็มกระถาง 
วิธีในการช่วยทำให้กระถางไม่เสียรูปเมื่อน้ำเต็มกระถาง ทำได้โดยการ ใช้เชือกฟางรัดทั้งหมดสามช่วงของกระถางดังภาพ


ผูกเชือกฟางรัดทั้ง 3 ช่วง


  โดยวิธีการผูกปมนั้นควรผูกให้แน่นแต่สามารถแกะได้นะคะ ควรผูกไว้ด้านล่างของกระถางเพื่อป้องกันการแกะในช่วงที่ต้องใส่ปุ๋ยให้กับผักของเราคะ
ผูกใต้กระถางเพื่อป้องกันการแกะตอนใส่ปุ๋ย

  
   ทดสอบว่าใช้ได้หรือยัง โดยนำฟาโฟมหรือวัสดุที่ใช้ยึดผักมาวาง สังเกตุดูว่าเห็นเชือกฟางผ่านช่วงที่เจาะหรือไม่ดังภาพ


   


    ถ้าเหมือนให้ทำการขยับเชือกฟางออกดังภาพ เพื่อไม่ให้เชือกขวางฟองน้ำไม่ให้โดนน้ำหลังจากทำการปิดฝาในขั้นตอนการปลูก



 นำเชือก 2 เส้นมาผูกยึดระหว่างอุปกรณ์ยึดผักและกระถางกันปลิวดังภาพ 



ขอบคุณภาพจากร้านผักบ้าน...บ้านนะคะ บทความนี้สั้นๆ แต่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ทานเองภายในบ้าน
ขอให้เพื่อนๆมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกคนนะคะ




และถ้าเพื่อนๆมีความสุขกับบทความนี้รบกวนมากด like ที่
http://facebook.com/pukbaan  เพื่อเราจะได้มาเจอกันนะค่ะ