วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สถานที่สำคัญไฉน...สำหรับผักต้นน้อย


คุณเคยหลงรักใครบ้างไหม? 
     และถ้าหลงรักใครสักคน สิ่งแรกที่คุณทำคืออะไร?  
สำหรับเรา คือหาข้อมูลของเขา  เรียนรู้เรื่องของเขา อยากรู้สิ่งที่เขาชอบและไม่ชอบ 
   ในเวลานี้... เราเองกำลังตกหลุมรัก แต่ไม่ใช้กับชายหนุ่มคนไหนแต่เป็นเจ้าผักต้นน้อยๆ ที่ทำให้เราหลงรักอยากหัวปักหัวปำ ดังนั้นเราจึงทำการศึกษาเพื่อทราบว่าสถานที่แบบไหนที่ทำให้เขามีความสุขที่สุด
ปลูกผักไร้ดินในทาวน์โฮม
     สถานที่ที่เหมาะกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบใช้กระถางนั้นควรเป็นสถานที่ที่มีหลังคาเพื่อป้องกันฝนไม่ให้น้ำฝนตกลงมาบนใบผักตรงๆ ส่งผลทำให้ใบผักช้ำแ ละน้ำฝนถ้าปริมาณมากไปจะทำให้น้ำล้นกระถางส่งผลปุ๋ยเสียสมดุล แต่ถ้าโดยแบบฝนสาดไม่เป็นไรนะจ๊ะ ไม่ต้องกังวลมาก แต่อย่าลืมหาเชือกมาผูกยึดกระถางและฝาไว้นะค่ะ เดี๋ยวปลิว (จะหาว่าเราไม่เตือน)
ที่บ้านเราใช้โรงรถในการวางกระถางเพื่อจะได้รับแสงแดดยามเช้าทุกวัน

แสงแดดควรเป็นแดดช่วงเช้า ผักรับแสงตลอดช่วงเช้าได้จะดีมากเลยค่ะจะทำให้ผักแข็งแรงเพราะอากาศไม่ร้อนมาก แต่ถ้าผักได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ผักจะมีทรงยาว ดูไม่สมบูรณ์ แต่ถ้ารับมากไปตายสนิทค่ะ ดังรูปที่เคยนำเสนอแล้วนะค่ะ




แสงแดดน้อยไปทำให้ผักสลัดมีก้านยาวไม่สวย

     แต่ถ้าผักจำเป็นต้นรับแดดบ่ายเพราะไม่สามารถหาสถานที่ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผักจะได้รับความร้อนมากกว่าแดดเช้ามากๆแนะนำให้มีสแลมกันแดดป้องกันจะช่วยทำให้ผักมีความสุขมากขึ้นนะคะ 
ชั้นวางพร้อมสแลมกันแดด (ขอบคุณรูปภาพจากคุณลูกค้าคะ)
ปลูกในคอนโดค่า
ปลูกในคอนโด



วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ต้นกล้ากับภัยที่เกิดขึ้น

         หลายๆ คน ที่ผ่านการปลูกผักมาบ้าง สิ่งที่ได้รับคงไม่ใช่แค่ความสุขใจเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องเรียนรู้ความผิดหวังจากการตายของผักด้วย 

        

 ความตายของต้นกล้าจากการปลูกและแสงแดดจัด

         ทุกครั้งที่เราได้เห็นต้นกล้าต้นเล็กๆ ของเราตายไปต่อหน้าต่อตา ทำให้เราทำใจได้ยาก โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมากจากความผิดพลาดของเราเอง เช่น การนำต้นกล้าใส่ในหลุมอย่างไม่ระมัดระวังทำให้ต้นหัก การที่รากไม่โดนน้ำเพราะใส่น้ำน้อยเกินไปทำให้ต้นตาย (การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์) หรือแดดที่มากเกินไปเนื่องจากสถานที่ไม่เหมาะสมจนทำให้ใบของมันไหม้        
        ต้นกล้าเล็กๆ  กับแสงแดดจัดๆ มันเป็นสิ่งที่คร่าชีวิตต้นกล้าไปโดยง่าย และด้วยประสบการณ์นี้เองอาจทำให้บางคนท้อที่จะปลูกผักต่อหรือล้มเลิกส่ิงตั้งใจไปก็มี
ต้นกล้าหักเนื่องจากที่ต้นกระแทกกับโฟมในขณะนำลงหลุม
           สำหรับเราสิ่งที่ได้รับจากความผิดหวังคือการยอมรับ เรียนรู้และรู้จักแก้ไข เรายอมรับสิ่งที่ไม่สมหวัง ในทุกๆ วันเราไม่สามารถได้ดังหวังทุกอย่าง ต้นกล้าของเราตายไปไม่ใช่น้อย เราทำได้เพียงแค่เพาะต้นกล้าในปริมาณที่มากกว่าจำนวนหลุมที่ใส่ พยายามระมัดระวังในการนำต้นกล้าลงหลุมและหมั่นดูระดับน้ำในกระถางปลูกช่วงเวลา  1- 2 วันแรกและทำใจกับสิ่งผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในส่วนที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่น แสงแดดจัดเป็นต้น การปลูกต้นไม้จึงเป็นการสอนเราให้รู้จักที่จะรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุกๆวัน

รากต้นกล้าไม่โดนน้ำทำให้ต้นกล้าตาย


แสงแดดที่เแรงจัดทำให้ใบต้นกล้าไหม้


ความตายของผักจากแมลงและเชื้อราในน้ำ

      เมื่อต้นกล้าแข็งแรงจนเป็นผักที่น่าทาน ผักที่ปลอดภัยย่อมมีแมลงมากินบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้ามันมากไปหละจะทำอย่างไร สิ่งที่เราทำเสมอคือ นำแมลงออกไปอยู่ที่อื่น ฉีดน้ำไล่ หรือทำการฆ่าเท่าที่จำเป็น เราไม่ฉีดยาฆ่าแมลง เพราะเราไม่อยากได้รับอันตรายจากยาที่ฉีดและไม่อยากได้รับสารตกค้างจากสารเคมีที่ฝากไว้ในใบผัก
     ในกรณีที่พบว่ามีแมลงจำนวนมากๆ สำหรับเราคือการใช้น้ำส้มควันไม้ไล่แมลง แต่วิธีที่เราทำมากที่สุดคือหยุดปลูกประมาณ 2 สัปดาห์ วิธีนี้เพื่อตัดวงจรการเพาะพันธุ์แมลงและเป็นวิธีที่ดีที่สุดคะ 

แมลงชอบกินใยผักทำให้ใบผักเสียหายไม่น่ากินและทำให้ผักเติบโตช้า
หนอนใยผักทำให้ใบผักเป็นรู ระบาดได้เร็วในฤดูร้อน

สำหรับเชื้อราในน้ำ เราใช้วิธีง่ายๆ คือ เทน้ำออกแล้วใส่น้ำและปุ๋ยใหม่เท่านั้นเอง เราไม่เคยใช้สารอินทรีย์ในการทำลายเชื้อรา เพราะเราอยากให้มีเราและผักของเราเท่านั้น ไม่มีสารอะไรมากระทบกับผักของเรามากเกินไปกว่าปุ๋ยที่เราใส่ 
เชื้อราในกระถางเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงฤดูฝนถ้าทิ้งไว้นานทำให้ผักตาย
    การที่เราปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในกระถาง ข้อดีของมันคือควบคุมโรคได้ง่าย ทำให้เราง่ายต่อการปลูกและดูแลเขา 
สิ่งที่จะสังเกตถึงความผิดปกติของผักคือรากมีสีดำและน้ำเริ่มมีกลิ่นเหม็น



รากที่สมบูรณ์คือมีสีขาวดังภาพ

ถ้าเราปลูกผักหลายกระถาง วิธีการที่ทำให้แมลงระบาดได้ช้าคือ กระถางปลูกที่ติดกันควรเป็นผักคนละชนิดกันดังภาพ


    เมื่อเราคิดได้ว่าความล้มเหลวคือประสบการณ์ที่เราต้องเรียนรู้ ความทุกข์ใจของเราก็จะหมดไป 

ขอให้เพื่อนๆมีความสุข สุขภาพแข็งแรงทุกคนนะค่ะ

จัดทำโดย





วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ระดับน้ำที่เหมาะสมกับผักไฮโดรโปนิกส์แบบปลูกในกระถาง

    ระดับนำ้มีความสำคัญที่เราไม่ควรลืมนะคะ เพราะมันจะเป็นตัวกำหนดว่าผักของเราจะตายหรือจะโต เพราะหากน้ำน้อยเกินไปก็จะทำให้ผักตาย และถ้าน้ำมากเกินไปล่ะ ผักจะเป็นอย่างไร?


     ระดับน้ำที่มากเกินไปส่งผลให้เจ้าผักที่เราปลูกนั้นไม่งามอย่างที่เราคิด ด้วยเหตุที่ว่าออกซิเจนสำหรับผักนั้นมีน้อย เพราะว่าเจ้าผักเรานั้นได้ออกซีเจนจากนำ้เพียงอย่างเดียว และหากน้ำไม่ได้มีการหมุนเวียนแล้วล่ะก็... ผักของเราก็จะเป็นเด็กน้อยอยู่แบบนั้น ดูน่ารักแต่ไม่น่าทาน

    ดังนั้นเรามาดูวิธีการใส่นำ้กันดีกว่า 

วิธีที่เรานำเสนอคือใช้ความร้อนจากธรรมชาติควบคุมระดับน้ำในกระถาง โดยไม่ใช้ไฟฟ้านะค่ะ  

      ในครั้งแรกของการใส่น้ำลงกระถาง เราจะใส่น้ำให้เต็ม เหตุเพราะรากของต้นกล้ายังสั้น อากาศที่อยู่ในช่องฟองน้ำเพียงพอที่จะทำให้ต้นกล้าโตได้แล้วค่ะ และด้วยแสงแดดบ้านเราช่างแรงเหลือเกิน ทำให้นำ้ระเหยและหายไปได้เร็วส่งผลให้ระดับนำ้ลดลง จากผลดังกล่าวทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรากกับนำ้นั่นเอง ดังนั้นการควบคุมน้ำแแบบนี้ ในระยะเวลา 1-2 วันแรกให้คอยสังเกตระดับน้ำในกระถางนะค่ะ ถ้าพบว่ารากไม่สัมผัสกับน้ำให้เติมนำ้ให้เต็ม หลังจากนั้นในวันที่ 3 จะเห็นว่ารากของต้นกล้ายาวพอสมควร ไม่ต้องเติมน้ำอีก ปล่อยไปตามธรรมชาติค่ะ

ใส่น้ำในกระถางให้เต็ม  สำหรับกระถางรางยาวให้ใช้เชือกฟางรัดไว้ 3 ระยะก่อนใส่น้ำเพื่อไม่ให้กระถางเสียทรงดังภาพ


       และอีกวิธีคือให้ฟองน้ำมีความหนามากกว่าโฟม จะทำให้รากจุ่มน้ำได้มากขึ้น วิธีนี้เราก็จะไม่ต้องคอยระวังว่ารากจะไม่สัมผัสน้ำอีกต่อไป เราจะมาดูระดับน้ำอีกทีเมื่อทำการใส่ปุ๋ยค่ะ วิธีนี้ช่วงทำให้เราปลูกผักโดยใช้เวลาให้น้อยลง

สังเกตความหนาของฟองนำ้มีขนาดมากกว่าโฟมจะทำให้รากสัมผัสน้ำได้มากขึ้น


การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หรือประมาณ 15 วันนับจากวันที่นำต้นกล้าลงกระถางปลูก ระดับน้ำควรอยู่ประมาณ 2/3  ของกระถาง แต่ถ้าพบว่าน้ำมีปริมาณที่มากกว่าให้เทน้ำออกแล้วค่อยใส่ปุ๋ยนะค่ะ วิธีนี้จะส่งผลให้ผักโตเร็วขึ้นไม่เป็นเด็กน้อยคะ

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3และ 4 ปริมาณน้ำควรอยู่ประมาณ 1/2 ของกระถางคะ ถ้าพบว่าน้ำน้อยไปควรเติมให้ได้ตามระดับที่กำหนดนะค่ะ (ในช่วงที่ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 จะพบว่าน้ำลดลงเนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ผักกำลังโตคะ)
นำ้ลดลงเกินครึ่งในช่วงที่ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4

อ่านแล้วก็อาจจะดูยุ่งยากไม่ใช่น้อย แต่เป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์หรือผักไร้ดินที่ใช้กระถางราง เป็นวิธีที่ประหยัด ใช้ทุนน้อย แต่ก็ต้องเสียเวลากับการควบคุมระดับน้ำ เหมาะสำหรับทานเองภายในบ้านนะค่ะ หวังว่าเพื่อนๆอ่านแล้วคงไม่ท้อไปก่อนนะค่ะ 



ขอให้เพื่อนๆมีความสุขแข็งแรงทุกคนนะค่ะ

จัดทำโดย

   

ให้ออกซิเจนด้วยตัวเองสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบกระถางและไม่ใช้ไฟฟ้า

  สวัสดีค่ะเพื่อนๆ มีใครหลายคนถามว่าปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องมีปั๊มออกซิเจน ไม่มีที่วัดระดับนำ้ ผักจะโตได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบค่ะ


 ปัจจัยที่ทำให้ผักโตมีอยู่ด้วยกับ 4 ปัจจัยหลักคือ อากาศ แสงแแดด นำ้ และแร่ธาตุที่ผักต้องการ

อากาศ เป็นตัวขับเคลื่อนทำให้ผักโตและมีชีวิต ออกซิเจนมีหน้าที่ในการสลายอาหารเพื่อให้ได้พลังงานเช่นเดียวกับคน ดังน้ันเราจะทำให้ผักที่ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ได้อย่างไร

วิธีแรกคือ การเว้นช่องว่างระหว่างรากและนำ้ให้ห่างกันพอสมควร โดยทั่วไปจะให้น้ำอยู่สูงประมาณ 1/2 ของราก จากช่องว่างของอากาศดังกล่าวจะทำให้ผักมีอากาศหายใจ ซึ่งวิธีการปลูกแบบใส่กระถางโดยไม่มีเครื่องวัดระดับน้ำ เราควรสังเกตปริมาณนำ้ที่อยู่ในกระถางว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือยัง หากมีน้อยกว่าที่กำหนดควรเติมเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำที่มากเกินไปจนทำให้พืชขาดน้ำ

วิธีที่สองคือ การเพิ่มออกซิเจนในนำ้ ซึ่งวิธีในคริปนี้ เนื่องจากไม่มีปั๊มน้ำเหมือนแบบ NFT และ DFT เราจึงต้องทำแบบนี้นะค่ะ แต่จะทำเท่าไร หรือช่วงไหน เข้าไปดูนะคะ ซึ่งมันจะเป็นวิธีกระตุ้นให้ผักกินอาหารได้มากขึ้นนั้นเอง แต่ไม่ทำก็ได้ค่ะถ้าไม่มีเวลา เพราะวิธีแรกอย่างเดียวก็สามารถทำให้ผักงดงามได้ค่ะ


คราวหน้าพบกับ...  
 ระดับน้ำที่เหมาะสมกับการปลูกผักในกระถางแบบไม่ใช้ดินค่ะ  





หวังว่าคงทำให้เพื่อนๆ สนุกกับการปลูกผักมากขึ้นนะค่ะ 
ของให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะค่ะ
จัดทำโดย

http://pukbaan.lnwshop.com/





วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของผักแต่ละชนิดและฤดูที่เหมาะสม(ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง)


ประโยชน์ของผักแต่ละชนิดและฤดูที่เหมาะสม(ไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง)


       จาก 1ปี ที่ได้ทำการศึกษาการปลูกผักมาแต่ละชนิดและเก็บข้อมูล ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่ทำให้ผักสวยงาม คงไม่พ้นช่วงฤดูหนาว พราะอากาศที่ไม่ร้อนมากและโรคที่พบก็น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฤดูอื่น แต่แน่นอนเราคงไม่อยากปลูกผักแค่ช่วงฤดูหนาวเท่านั้น งั้นเรามาจัดหมวดหมู่เพื่อปลูกผักไว้ทานตลอดปีกันดีกว่านะคะ

ปลูกผักไร้ดิน(Hydroponics) โดยไม่ใช้ไฟฟ้าและต้นทุนต่ำ

ปลูกผักไร้ดิน(Hydroponics) โดยไม่ใช้ไฟฟ้าและต้นทุนต่ำเป็นระบบน้ำนิ่ง


             ด้วยความที่ชอบปลูกต้นไม้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นไม้ดอกไม้ ไม้ประดับ ไม้ผลและผักสารพัดชนิด สิ่งที่ได้รับจากการปลูกคือ ความใจเย็น เข้าใจกฏของธรรมชาติและสัจธรรม 
              การปลูกผักโดยใช้ดินสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ การต้องเตรียมดิน ซึ่งมันค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องพรวนดินให้ฟูและเก็บหญ้าที่กองอยู่อย่างมากมาย ต้องมีความรู้เรื่องดินที่ใช้ ต้องหาผักให้เหมาะกับดินที่เราจะปลูก ดังนั้นสำหรับตัวเรา เราใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ถึงจะทำเสร็จ (ใช้เวลาเกือบทั้งเสาร์ และอาทิตย์) แต่ก็ได้ผลดังหวังเมื่อผักโตงอกงามจนกินได้ มันเป็นความภูมิใจที่สิ่งที่ตั้งใจไว้ได้เป็นจริง แต่เมื่อปลูกครั้งที่ 2 ในที่ดินเดิมปรากฏว่าไม่งามเหมือนครั้งแรกเนื่องจากหนอนที่ยังคงอยู่ในดินและแร่ธาตุที่หายไปทำให้   ผักไม่โตเหมือนดังเคยแถมยังถูกหนอนกินจนไม่เหลือใบ ทำให้เราเรียนรู้ว่าสิ่งที่หวังอาจจะไม่ได้เสมอไป เราต้องพยายามยิ้มรับและเรียนรู้ใหม่
               การปลูกพืชไร้ดิน เป็นทางออกสำหรับปัญหาที่เกิดกับเราในครั้งนี้ เราเลยหาข้อมูลจนได้พบข้อมูลดีๆของคุณ คุณตู้ไฟในพันทิพย์ http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2012/02/J11678391/J11678391.html

               จทย์ของเราคือ ไม่แพง ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนในการปลูกต่ำ เราจึงได้ทำการทดลองปลูกผักและผลที่ได้คือ ตอนนี้เราไม่ต้องซื้อผักกินอีกเลยและได้รับรอยยิ้มจากเธอคนนี้... ผู้ที่เป็นกำลังใจของเราเสมอ

ปลูกผักเพียงลงมือทำง่ายนิดเดียว (แถมวิธีการปลูกต้นหอมในกระถาง)



      มีใครหลายๆคน อยากที่จะปลูกต้นไม้ ชอบดูความสวยงามของมัน และทานมัน แต่ด้วยเวลาที่ไม่มี สถานที่ไม่ได้ เคยปลูกแล้วตาย ทำให้หลายๆคน หยุดเพียงแค่คิดเท่านั้นเอง