วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เด็กกับการปลูกผักไร้ดิน


    เขียนบทความนี้ไกลตัวเหมือนกันนะคะ เพราะยังไม่มีลูก ยังดีที่มีหลานๆ เลยแอบเอาไปให้หลานๆ (ลูกเพื่อนได้ทดลองปลูกกัน)




      เพื่อนเล่าให้ฟังว่าเมื่อลูกได้รับชุดปลูกในครั้งแรก เขาคิดว่ากระถางคือเรือ แล้วนั่งทับทำเหมือนขี่เรือจริงๆ (ดีใจที่กระถางแข็งแรงพอสำหรับน้ำหนักเด็ก 3 ขวบ) และเด็กน้อยอีกคนนำชุดกระถางขึ้นห้องนอน เอาไปนอนด้วย ( เราเลยต้องบอกเพื่อนว่าเอาปุ๋ยแยกออกมาต่างหากนะ มันอันตรายกลัวหลานเปิดเอามาทาน)
เรือของเด็ก


 สมาชิกใหม่ของผักบ้าน...บ้านค่า


     วันที่เริ่มเพาะ เพื่อนเปิด Clip ใน You-Tube ที่เราทำมาให้เด็กน้อยดู ปรากฏว่าหลานทำเองได้โดยไม่ต้องช่วย วิธีนี้เป็นการฝึกการเรียนรู้และสร้างสมาธิของเด็กได้ดีเลยทีเดียว
สำหรับการปลูกครั้งแรก แนะนำให้ปลูกผักกาดขาวไดโตเกียว เพราะปลูกง่ายและโตเร็วค่ะ


วันแรกกับการเพาะผักไร้ดิน


วันแรกกับการเพาะผักไร้ดิน
เตรียมอุปกรณ์เพาะต้นกล้า

พื่อนเล่าให้ฟัง ทุกวันหลังจากเพาะแล้วเด็กๆ จะมาเฝ้ามองและเปิดกล่องเพาะดูทุกวัน วันละหลายครั้ง เ ในแต่ละวัน เด็กๆ ตื่นตาตื่นใจกับการเปลี่ยนแปลงจากเมล็กเล็กๆ ที่ค่อยๆ กลายเป็นต้นกล้าต้นน้อยๆ คำถามจะตามมาทุกวันว่าเมื่อไหร่มันจะโต? แล้วมันจะเป็นอย่างไร? 
"ด้วยคำถามนี้เองทำให้เราลงมือทำสมุดบันทึกผักสำหรับเด็กน้อยขึ้นมา เพื่อเด็กๆจะได้สนุกกับการปลูกผักและสอดแทรกความรู้สำหรับเขาและหลักธรรม ในช่วงเวลาที่เขาสนุกกับกิจกรรมนี้"






      "ปล. การเฝ้าดูการงอกของต้นกล้า โดยการเปิดดูส่งผลต่อการงอกไม่มากนัก ข้อควรระวังเพียงอย่างเดียวคือ อย่าให้กระดาษทิชชู่แห้งเท่านั้น"

คลิปการะเพาะต้นกล้าใน You-tube ค่ะ










่ลงมือทำแล้วครับ


เสร็จแล้วครับ ภูมิใจสุดๆ ดูจากภาพเลยค่ะ

       


แหม! พอเพื่อนเล่าเรื่องนี้ขึ้นมา ก็อยากเห็นความตื่นเต้นของหลานด้วยตาเสียจริงๆ และคิดว่า ถ้ามีลูกก็อยากสอนเขาอย่างนี้เหมือนกัน อยากให้เขาสัมผัสกับการเกิดของต้นกล้าต้นน้อยอย่างใกล้ชิด จะได้อธิบายให้เขาเห็นความพยายามของต้นกล้ากว่าจะเป็นผักให้เรากิน มันต้องผ่านอะไรมาบ้าง เวลากินผักเขาจะได้กินหมด ไม่เหลือทิ้งเหมือนเราตอนเด็กๆ ( เพราะเราไม่ชอบกินผักเอามากๆเลย)

       เมื่อผักพร้อมที่จะลงกระถาง เด็กบางคนอาจพบกับความผิดหวัง เพราะพบว่าผักงอกไม่ได้ทั้งหมด หรือช่วงที่เขานำต้นกล้าลงกระถาง ต้นอาจหักจากการที่ต้นไปโดนโฟมในช่องที่ใส่ 

กล่อนนี้อาจช่วยให้คุณแม่ใช้ในการปลอบลูกได้นะค่ะ (นำมาจากสมุดบันทึกการปลูกผักของเด็กน้อย)

     ถึงช่วงนี้แล้วคุณแม่ต้องหาคำตอบดีๆ ให้ลูกนะคะ หรือถ้าไม่อยากให้เขาผิดหวังมากก็เป็นคนจัดวางต้นกล้าลงกระถางจะดีที่สุดและเพาะต้นกล้าให้มากกว่าหลุมที่มีอยู่ก็จะลดความเสี่ยงที่มีหลุมเหลือ




เสร็จแล้วฝีมือคู่แม่ลูกช่วยกับปลูกค่ะ

ดูวิธีการนำต้นกล้าลงกระถางได้ในนี้นะค่ะ




ข้อควรระวัง การใส่ปุ๋ยเราขอแนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่เป็นคนใส่เองนะคะ เพราะปุ๋ยมีความเป็นกรดแบบอ่อนๆ อยู่อาจจะระคายเคืองกับผิวเด็กได้ แต่ผู้ใหญ่อย่างเราไม่มีผลค่ะ




ภาพจากหลานสาวตัวน้อยค่ะ 

สนุกอย่างที่เห็น (ผักอายุได้ 7 วันหลังจากลงกระถางคะ)


ชาวนาตัวน้อย ( ผักอายุได้ 14 วันหลังจากลงกระถาง)



ขอทานก่อนนะค่ะ

 ปิดเทอมนี้ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ กับลูกๆ มีกิจกรรมปลูกผักทานในบ้านอย่างง่ายๆ ได้ที่นี่นะค่ะ เข้ามาชมแล้วเพื่อนๆ จะติดใจค่ะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น